ทากธีกาเซรา (Thecacera) หรือที่เราเรียกชื่อเล่นกันคุ้นชินว่าปิกาจูเพราะหน้าตาที่เหมือนกับตัวการ์ตูนปิกาจูจากโปเกมอนไม่มีผิด
พวกมันมีตัวปลอมมาทำเนียนดูคล้ายกันด้วย แต่เป็นตัวปลอมที่ห่างไกลคนละ Genus กันเลย
หลังจากจบการอ่านอัลบั้มนี้แล้ว รอบหน้าที่เจอทากปิกาจูลองดูกันให้ดีว่า สิงทีเราเห็นเป็นตัวจริงหรือตัวปลอม
เช่นเคยว่าต้องขอขอบคุณภาพจากช่างภาพทุกคน และเพจ Sea Slug Thailand สำหรับรายละเอียดการแยกตัวทากแต่ละชนิด
ทากธีกาเซรา (Thecacera) ทีมีชือเลนในหมูนักดำน้ำวา "ปิกาจู" เพราะความเหมือนกับตัวโปเกมอนทีชื่อปิกาจูในการ์ตูน ที่จริงแล้วชื่อของพวกมันมาจากคำว่า ธีกา.. Theca.. ซึ่งแปลว่าถ้วยในภาษาลาติน จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีใครแน่ใจว่า "ถ้วย" ที่ว่ามาจากไบโอซัวรูปถ้วยที่เป็นอาหารของมัน หรือลักษณะของตัวมันที่มีเสายื่นขึ้นมาจนดูคล้ายขอบถ้วย คงไม่มีใครตอบได้นอกจากจะมีใครสร้างเครื่องย้อนเวลากลับไปถามคนตั้งชื่อคนแรกได้
รู้หรือไม่ว่าในทะเลบ้านเรามีสิ่งมีชีวิตที่ดูเหมือนทากปิกาจูที่พวกเรารัก แต่มันไม่ใช่
การจะแยกตัวจริงกับตัวปลอมให้ออก ต้องรู้ก่อนว่าลักษณะเด่นของตัวจริงมีอะไรบ้าง 1. เขาสูง 2 แท่งที่ด้านหลังทางส่วนก้น 2. ขอบกันชนใต้ฐานของเขาไรโนฟอร์ ทางด้านหน้า ส่วนถิ่นที่อยู่นั้นใช้เป็นตัวบอกไม่ได้เพราะอาหารหลักของปิกาจูธีกาเซรานั้นคือไบรโอซัวบูกูลา (Bugula) ก็เป็นอาหารของตัวปลอมด้วย บางทีเราก็เจอตัวปลอมบนไบรโอซัวแบบเดียวกันนี้ล่ะ //ศัพท์ประหลาดเพียบ อดทนอ่านช้าๆ หน่อยนะพวกเธอวว์ เมื่อก่อนเราเรียกบ้านปิกาจูกันคุ้นปากว่าไฮดรอยถ้วย แต่ที่จริงแล้วมันไม่ใช่ไฮดรอย มันเป็นไบรโอซัว เป็นสิ่งมีชีวิตคนละชนิดกัน พวกนักวิชาการเค้าฝากมาให้แก้วิธีเรียกให้ถูกด้วย
มาดูฝั่งตัวปลอมกันบ้าง... ถ้าดูจากระยะไกล มันดูคล้ายมาก แต่เมื่อดูใกล้ๆ ตัวปลอมไม่มีเขาสูงๆ และมีหนวดเครารอบหน้า ตัวปลอมนี้มีชื่อจริงว่าโพลีเซรา (Polycera) ยังไม่มีชื่อเล่นให้เรียก (แอดเอ้เพิ่มเติม : เดี๋ยวแอดมีนคงเรียกชื่อมันด้วยศัพท์แสงแปลกๆ อีกเช่นเคย - แบบ ทากลุงหนวด อะไรประมาณนี้แหง๋ม)
ดูตัวปลอมกันชัดๆ อีกที ไม่มีเขาคู่สูง ไม่มีกันชนที่ไรโนฟอร์ แถมมีหนวดเคราเต็มหน้า
นี่ไงล่ะ ตัวปลอมของแบบสีขาว มีการแต้มสีส้มที่ปลายหนวดให้เหมือนซะด้วย แต่พวกเราแยกแกออกแล้วล่ะ! เจ้าตัวปลอมมมมมมมมมม!
Comments