top of page
Writer's picturePolpich Aey Komson

ฉลามวาฬ ตาหุ้มเกราะ

สัตว์ที่ต้องพึ่งพาการมองเห็นมักจะมีระบบป้องกันดวงตาที่ซับซ้อน เช่นมนุษย์และสัตว์จำพวกลิงที่มีเปลือกตา หรือในฉลามบางประเภทจะมีเนื้อเยื้อพิเศษ (third eyelids) เพื่อปกปิดดวงตาเวลาล่าเหยื่อ

เราเคยคิดว่าในฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ไม่ได้มีระบบการปกป้องดวงตาที่ซับซ้อนแบบนั้นทั้งๆ ที่ดวงตาของฉลามวาฬนั้นยื่นออกมานอกเป้าตา ซึ่งเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย จึงสรุปกันว่าฉลามวาฬน่าจะไม่ได้พึ่งพาประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นมากนัก


แต่จากรายงานล่าสุดของ Okinawa Churashima Research Center และ Okinawa Churaumi Aquarium พบว่าดวงตาฉลามวาฬมีผิวหนังชั้นนอก (dermal denticles) ลักษณะคล้ายเกล็ดเล็กๆ จำนวนมากปกป้องอยู่ ผิวหนังชั้นนอกนี้จะมีรูปพรรณที่แตกต่างกับผิวหนังชั้นนอกบริเวณลำตัวของฉลามวาฬที่มีลักษณะเป็นเกล็ดเงี่ยงรูปตัว V ขนาดเล็กวางเรียงตามแนวยาวตลอดลำตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลู่น้ำ แต่ในบริเวณดวงตานั้นมีรูปพรรณคล้ายกับใบโอ๊ควางเรียงต่อกันรอบๆ ตาดำ



เมื่อศึกษาละเอียดลงไป dermal denticles ในดวงตาของฉลามวาฬนั้นมีความคล้ายคลึงกับ dermal denticles บนลำตัวของ horn shark (Heterodontus spp.) ซึ่งใช้เพื่อป้องกันการเสียดสี นักวิทยาศาสตร์จึงเชื่อว่า eye denticles นี้มีไว้เพื่อปกป้องดวงตาจากการเสียดสีจากภายนอก ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในตระกูลฉลามและกระเบน รวมกับความสามารถในการหดลูกตากลับเข้าไปในเบ้าตาถึงเกือบครึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางลูกตาทำให้ฉลามวาฬมีระบบปกป้องดวงตาที่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพมาก


จากความซับซ้อนใน machanic การปกป้องดวงตาของฉลามวาฬที่ค้นพบใหม่นี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าฉลามวาฬน่าจะมีสายตาที่ดีและการมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญของฉลามวาฬ ซึ่งเปลี่ยนความเชื่อเก่าๆ ที่เราเคยคิดกันว่าฉลามวาฬน่าจะมีสายตาที่ไม่ดีไปเลย Ref: Armored eyes of the whale shark (https://bit.ly/2VUSESb)

220 views0 comments

Comments


bottom of page