top of page

CO2 – Climate Change – Catastrophe

เมื่อสภาพภูมิเปลี่ยนแปลงอากาศจนไปสู่จุดหายนะ ทะเลไทยอาจกลายเป็น ‘ออนเซ็น’ ที่มีอุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส! หากเรายังไม่ลดการปล่อยคาร์บอนฯ แถมยังจะเร่งให้เกิด Climate Change และ Marine Heatwave ในท้องทะเลที่รุนแรงกว่าที่คิด บทสัมภาษณ์​โดย : วรุณรัตน์ คัทมาตย์


ลึกลงไปใต้ท้องทะเล คลื่นน้ำกำลังเคลื่อนไหวแทรกผ่านร่างช่างภาพหนุ่ม ซึ่งกำลังตั้งใจจดจ่ออยู่กับการลั่นชัตเตอร์ของกล้องในจังหวะที่ดีที่สุด เพื่อให้ได้ภาพถ่ายใต้ทะเลที่สะท้อนปัญหา ‘ปะการังฟอกขาว’ ซึ่งเป็นผลจาก สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) ออกมาให้ได้ชัดเจนและครบถ้วนที่สุด

ภาพโดย ชิน ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย

ชิน - ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสารคดีด้านสิ่งแวดล้อม ทำงานด้านนี้มานานกว่า 14 ปี ทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้สังเกตการณ์ ‘ท้องทะเลไทย’ ที่สามารถบอกเล่าเรื่องปรากฏการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างตรงไปตรงมาและเชื่อถือได้ที่สุดคนหนึ่ง


ชิน เล่าว่าเขาผูกพันกับทะเลมาตั้งแต่เด็ก ยิ่งพอได้ลองดำน้ำชมโลกใต้น้ำ และเห็นความตระการตาของโลกอีกใบ ก็ยิ่งทำให้หนุ่มคนนี้หลงรักทะเลไทยมากขึ้นไปอีก จนกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเขาจนถึงทุกวันนี้ แต่ทะเลที่เขาเคยชื่นชมความงามในวัยเด็กกลับแตกต่างจากทะเลในวันที่เขาโตเป็นผู้ใหญ่อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 เหตุการณ์ที่รบกวนจิตใจคนรักทะเลอย่างเขา คงหนีไม่พ้นปัญหาปะการังฟอกขาวในครั้งนั้น

ชิน ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสารคดี

“มันเป็นเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อทะเลแถบเอเชียแปซิฟิกหนักมาก เนื่องจากปะการังเป็นสัตว์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยกับสาหร่ายชนิดหนึ่ง พออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ปะการังจะขับสาหร่ายออกจากโครงสร้างของมัน ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว และหากอุณหภูมิไม่กลับมาเป็นปกติ สาหร่ายก็ไม่สามารถกลับมาอยู่กับปะการังได้ ปะการังจะตายลง” ชิน เล่าสะท้อนภาพที่เขาเห็นมากับตาให้เราฟัง


อย่างที่หลายคนทราบดีว่าต้นตอของปัญหา Climate Change เกิดจากการปลดปล่อย ‘ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์’ ออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในปริมาณมหาศาล ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ และด้วยคุณสมบัติของ CO2 ที่ดูดซับความร้อนได้เยอะมาก จึงทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น


“ในอนาคตอันใกล้ อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นมากกว่านี้อีก และส่งผลกระทบต่อโลกใต้น้ำด้วย โดยเฉพาะภาวะน้ำทะเลกลายเป็นกรด เมื่อน้ำทะเลเป็นกรดก็จะกัดกร่อนปะการัง และทำให้สัตว์เปลือกแข็งต่างๆ ไม่สามารถสร้างกระดองของพวกมันได้ อัตราการตายของสัตว์ทะเลจะเพิ่มขึ้น” เขาย้ำให้เห็นถึงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับโลกใต้ทะเล

ผศ. ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาที่จะรอช้าได้อีกแล้ว ยืนยันอีกเสียงจาก ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชั้นแนวหน้าของไทย ให้ข้อมูลว่านักวิทยาศาสตร์มีข้อบ่งชี้หลายอย่างที่ระบุว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น จะส่งผลให้ทะเลทั้งโลกทรุดโทรมลง


ณ วันนี้โลกของเราปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ปริมาณมากถึง 40 กิกะตัน หรือ 40,000 ล้านตันต่อปี ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 1.1 - 1.2 องศาเซียลเซียส เมื่อเทียบกับโลกเมื่อร้อยกว่าปีก่อน และกำลังจะสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซียลเซียส อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้มนุษย์ทั่วโลกจะเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมฉับพลัน ภัยแล้ง คลื่นความร้อนสูงฉับพลัน จนเกิดการสูญเสียชีวิตของคนมากมาย รวมไปถึงปัญหา Marine Heatwave หรือ คลื่นความร้อนในทะเล ทำให้ทะเลเกิดความแปรปรวนขั้นสูงและสร้างความเสียหายมหาศาล



หากมองภาพความเสียหายในทะเลไทย พบว่าปีนี้ทะเลไทยฝั่งอ่าวไทยเกิดปะการังฟอกขาว ในพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง) ตรงนั้นมีปะการังนับแสนๆ ก้อน ตายหมดภายในเวลา 2-3 อาทิตย์ อีกทั้งพบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลในจุดนั้นสูงผิดปกติ คืออยู่ที่ 38 องศาเซียลเซียส


ต้องยอมรับกันอย่างจริงจังแล้วว่า Climate Change ส่งผลกระทบต่อทะเลและวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก แม้เป็น คนเมืองที่ไม่ได้อยู่ติดทะเล ก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน แต่วันนี้เรายังช่วยชะลอไม่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงไปกว่านี้ได้ ด้วยการ “ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ” ทั้งในระดับปัจเจก ครัวเรือนไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม


ชิน สะท้อนความคิดเห็นว่า หากเราช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ จากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ก็จะช่วยชะลอไม่ให้อุณหภูมิของโลกเราสูงไปกว่านี้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ช่วยกันลด ละ เลี่ยง กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งสมัยนี้มักจะมีผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา เพื่อช่วยลดความร้อน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้ หนึ่งในนั้นคือ อิงค์เจ็ทพรินเตอร์รุ่นใหม่ของเอปสันที่ไม่ใช้ความ ร้อนในกระบวนการพิมพ์ (Heat-Free Technology) และปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยกว่าเลเซอร์พรินเตอร์ถึง 85%


ดร.ธรณ์ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หากย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว การที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นแนวอนุรักษ์ มันอาจจะลำบากและขัดต่อวิถีชีวิตอย่างมาก แต่สมัยนี้ไม่ใช่ เพราะมีการพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่เอื้อให้คนรักษ์โลกได้ง่ายขึ้น


“ล่าสุดทราบมาว่าเอปสัน ผู้ผลิตพรินเตอร์ยักษ์ใหญ่ของโลกได้พัฒนาพรินเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีหัวพิมพ์ที่เรียกว่า Heat-Free Technology พิมพ์ได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อน และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้จำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าจะมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง นี่คือการแสดงถึงความใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ต้นทางการผลิตในโรงงาน ที่จะรวมถึงทุกๆ ขั้นตอนการผลิตที่ต้องลดการปล่อยคาร์บอนฯ ด้วย”


“ผมสนับสนุนเสมอนะ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจใดที่พยายามลงทุนในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม บอกได้เลยว่าเอปสันมีความใส่ใจในการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมทำให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ได้พูดคุยกับเอปสัน แล้วผมมีความสุข” ดร.ธรณ์ ทิ้งท้าย


ภาพโดย ชิน ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย

Comentarios


bottom of page