เรื่องของนกชายเลนอพยพ เกาะลิบง และพะยูนแห่งทะเลตรัง
ทำไมตรังจึงเป็น hotspot ของหญ้าทะเล?
#สรุป บทสนทนาจาก สิ่งละอันพันละนก และ digitalay เพื่อสารคดี 4 องศามหาสมุทร
จุดเด่นของนกชายเลน คือการอพยพที่ extreme มากในหลายแง่; ทั้งเส้นทางที่ยาวไกล บวกการเตรียมตัวเพื่ออพยพ
นกเหล่านี้มาจากจากตอนเหนือของทวีปเอเชีย รัสเซียตะวันออกไกล บางส่วนมาจากทุนดราและไทกา การอพยพนี้เกิดขึ้นตามสัญชาตญาณโดยพ่อแม่นกลงมาก่อน จากนั้นนกเด็กอายุเพียงไม่กี่สัปดาห์จึงรวมฝูงกันบินตามลงมา ซึ่งเส้นทางอพยพ (เรียกว่า Eastern Asia-Australasian flyway, ตลอดชายฝั่งสองข้างของทะเลเหลือง จีน เกาหลีใต้) มีความยากลำบากขึ้นทุกปี จากการถูกพัฒนาจนไม่เหมาะสมที่จะเป็น stopover ของนกชายเลนอพยพ ทำให้พวกมันต้องบินเป็นระยะที่ไกลมากขึ้นระหว่างแต่ละจุดพัก เพื่อผ่านลงไปออสเตรเลียเหนือ
การเตรียมตัวเดินทางก็ extreme ทั้งการเพิ่มน้ำหนักขึ้น 50% ก่อนบิน การลดขนาดอวัยวะ เช่น สมอง ตับ เพื่อเอาไปเก็บไขมัน
ที่น่าสนใจอีกประการคือ นกชายเลนพวกนี้อายุยืนยาวมาก (20+ ปี) หลายชนิดจับคู่เดิมทุกปี ตัวผู้ตัวเมียความยาวปากต่างกัน ทั้งสองเริ่มอพยพกลับบ้านไม่พร้อมกันและอพยพไปคนละจุด แต่กลับมาเจอกันที่บ้านเกิดได้ในเวลาเหลื่อมกันไม่กี่วัน นับเป็นความมหัศจรรย์ของ circadian rhythmic clock
การอพยพของนกชายเลนยังมีความลับซ่อนอยู่อีกมาก ที่สุดท้ายก็อาจจะไม่ทันได้ศึกษา อันที่จริง เส้นทางกับจุดอพยพจะเหมาะกับช่วงเวลานั้นๆ พอดี เช่น ในอเมริกาเหนือ นกน็อตเล็ก (red knot, Calidris canutus) จะอพยพขึ้นมาจากอเมริกาใต้พอเหมาะกับช่วงที่แมงดาทะเลขึ้นมาวางไข่ ก็จะแวะกินไข่แมงดาได้พอดี เป็นช่วงเวลาสองสามวันสั้นๆ ที่พวกมันต้องมาที่หาดแห่งนี้ให้ได้พอดีเป๊ะกับกระแสน้ำและดิถีจันทร์ แต่ในเอเชียพื้นที่เหล่านี้มักจะถูกพัฒนาไปหมดแล้ว
เกาะลิบงเป็น stopover ขาขึ้นของนกชายเลนอพยพจากออสเตรเลีย (ขากลับบ้าน) ในประเทศไทยมีข้อมูลฝั่งอันดามันน้อยกว่าอ่าวไทยตอนใน ลิบงเป็นหนึ่งในไม่กี่ที่ และเป็นจุดที่ใช้ cannon net ยิงตาข่ายจับนกเพื่อศึกษาวิจัยกันทุกปีในช่วงเดือนเมษายน (ตาข่ายจับนกนี้เป็นตาข่ายที่ผลิตขึ้นเป็นพิเศษด้วยวัสดุที่ไม่ทำให้นกบาดเจ็บ คนละอย่างกับตาข่ายที่ใช้ดักสัตว์ทั่วไป)
จากการศึกษาวิจัยพบว่า นกเหล่านี้มีส่วนช่วยในการกระจายพันธุ์ของเมล็ดหญ้าทะเล คล้ายกับนกเงือกในป่าสูง ทั้งจากการกินปะปนเข้าไปกับอาหารตามธรรมชาติ หรือว่าติดขนติดตัวมา (external transport)
สรุปสั้นๆ ได้ว่า การที่ตรังมีหญ้าทะเลเติบโตหนาแน่น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะลิบงคือ hotspot ของนกชายเลนอพยพเหล่านี้
เพราะมีนก ทะเลจึงมีพะยูน! (ฮู้ย ขนลุกกกกกก It's the circle of life~ นาาาซิเพ่นยาาา)
จาก Asian Waterbird Census (AWC) ในปี 2017, จำนวนนกน้ำที่นับได้ที่เกาะลิบง มีดังนี้
นกน็อตใหญ่, great knot - 80
นกหัวโตทรายใหญ่, greater sand plover - 1,500
นกหัวโตทรายเล็ก, lesser sand plover - 1,500
นกยางทะเล, pacific reef egret - 2
นกนางนวลแกลบปากหนา, gull-billed tern - 40
นกปากแอ่นหางลาย, bar-tailed godwit - 200
นกอีก๋อยใหญ่, eurasian curlew - 400
นกอีก๋อยเล็ก, whimbrel - 500
นกนางนวลแกลบธรรมดา, common tern - 7
นกนางนวลแกลบหงอนเล็ก, lesser crested tern - 30
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก Ayuwat Jearwattanakanok)
ภาพ: นาเกลือโคกขามเมื่อเดือนธันวาคม 2017, อีกหนึ่งจุดพักสำคัญของอ่าวไทยตอนบนที่สามารถพบนกน้ำอพยพหายากได้หลายชนิด รวมถึงนกชายเลนปากช้อน (spoon-billed sandpiper, Calidris pygmaea) ที่มีประชากรทั่วโลกเหลือเพียง 200 คู่เท่านั้น
เพิ่มเติม:
ความคิดเห็น