top of page

ฮาวทูทาก EP01: จาโนลัส พวงมาลัย

Updated: May 5, 2020

ชวนรู้จักทากทะเลแบบเจาะลึกขึ้น เพื่อความสนุกในการหาทากครั้งต่อไปของทุกคน :)


ขอเริ่มจากทากจาโนลัส หรือที่เราแอบตั้งชื่อเล่นให้พวกมันว่า น้องพวงมาลัย เนื่องด้วยความย้วยของตัว และอวัยวะที่ดูคล้ายกับพวงมาลัยระหว่างเขาคู่หน้า จาโนลัสที่หลายคนคุ้นเคยมีลักษณะหนามอวบม่วงๆ ที่จริงแล้วมันมี 2 ชนิดที่หน้าตาคล้ายกัน ความแตกต่างของ 2 ชนิดนี้แยกได้ด้วยสีที่เขาคู่หน้านั้นเอง


เชิญตามไปอ่านรายละเอียดความแตกต่างของแฝดคนละฝานี้ได้ ขอขอบคุณภาพจากช่างภาพทุกคน และเพจ Sea Slug Thailand สำหรับรายละเอียดการแยกตัวทากแต่ละชนิด

ทากจาโนลัส (Janolus) เป็นทากที่หาตัวได้ในเมืองไทย

ทากจาโนลัส (Janolus) เป็นทากที่หาตัวได้ในเมืองไทย โดยเฉพาะพื้นที่แสมสาร พวกมันมีขนาดตัวประมาณลูกปิงปอง ความกลมและย้วยของพวกมัน ทำให้เราแอบตั้งชื่อเล่นให้ว่าพวงมาลัยเนื่องด้วยความย้วยของตัว และอวัยวะที่ดูคล้ายกับพวงมาลัยระหว่างเขาคู่หน้า

จาโนลัส ฟลาโวอานูลาตัส (Janolus flavoanulatus)

เริ่มที่ชนิดแรก จาโนลัส ฟลาโวอานูลาตัส (Janolus flavoanulatus) คำว่าฟลาโวฯ ซึ่งเป็นชื่อชนิดแปลจากศัพท์ลาตินว่า วงแหวนสีเหลือง เพราะสายพันธุ์นี้มักจะมีวงสีเหลืองรอบหนามอ้วนที่หลัง แต่ว่าก็ไม่เสมอไป T__T



วิธีการแยกฟลาโวฯ ออกให้ง่ายกว่านั้นคือการดูที่เขาคู่หน้านั้นเอง โดยที่มันจะมีเขาสีเข้ม เกือบทั้งแท่ง และส่วนปลายเขาจะเป็นสีอ่อน หรือขาว โดยส่วนใหญ่ สีเขาจะ match กับสีบนหนามอ้วนที่ตัว //เป็นแฟชั่นแบบ matching สวยงาม ^^

เขาคู่หน้าสีเข้ม เกือบทั้งแท่ง และส่วนปลายเขาจะเป็นสีอ่อน หรือขาว = พวงมาลัยฟลาโวฯ
ตัวนี้ถึงจะเป็นตัวเด็ก แต่ลักษณะสีของเขาก็บ่งบอกว่าน่าจะเป็น พวงมาลัยฟลาโว
พวงมาลัยฟลาโวฯ แบบสีม่วงแดงก็มีเช่นกัน

อีกชนิดหนึ่งคือ พวงมาลัย ซาวินกินี savinkini ชื่อ savinkini มาจากชื่อนักวิจัยชาวรัสเซียผู้ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างและวิจัยสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังมายาวนานหลายสิบปี จุดสังเกตที่ต่างกันกับพวงมาลัยฟลาโวฯ คือเขาคู่ของซาวินกินี จะเป็นสีอ่อน (ตามสีตัว) และส่วนปลายเป็นสีเข้ม (ตามสีที่ตบแต่งตัว)

จาโนลัส ซาวินกินี (Janolus savinkini)
อันนี้จะหาเขายากหน่อย ต้องลองมองหาดีๆ
ตัวนี้ก็เป็นพวงมาลัย ซาวินฯ เช่นกัน

50 views0 comments
bottom of page